วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

เจดีย์วัดป่าสัก

เจดีย์วัดป่าสัก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์เม็งรายเมื่อราวพ.ศ. ๑๘๗๑ ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ กล่าวว่า “ ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีนถ้ำขวา(เบี้องขวา)แห่งพระพุทธเจ้าใหญ่เท่าเม็ดถั่วกว่าง(ถั่วเขียว)เอามาแต่เขตเมืองปาฏลีบุตรนั้น เอามาสู่พระยาราชแสนดู แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก ต่อวัดพระหลวงภายนอกที่นั้นแล้ว ก็สร้างให้เป็นความกว้าง ๕๐ วา เอาไม้สักมาปลูกแวดกำแพง ๓๐๐ ต้น แล้วเรียกว่าความป่าสักแต่นั้นมาแล แล้วก็สร้างกุฎีให้เป็นทานแก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังตราบป่าสักที่นั้น”         เจดีย์วัดป่าสักเป็นเจดีย์ห้ายอดคล้ายเจดีย์เชียงยืน ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน แต่มีลักษณะคลี่คลายออกไปแล้วคือ ผังส่วนล่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ยๆซ้อนลดหลั่น รองรับชั้นแถวจระนำซึ่งทั้งสี่ด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนด้านละสามองค์ รวมทั้งหมด ๑๒ องค์ และยังมีจระนำเล็กอีกสี่สลับสำหรับประดิษฐานรูปเทวดายืน (ชั้นจระนำนี้มีต้นเค้าจากอิทธิพลเจดีย์กู่กุดแต่ลดชั้นเหลือเพียงชั้นเดียว) เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงลดหลั่นสี่ชั้น ชั้นที่กล่าวมาเหล่านี้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏที่เจดีย์เชียงยืน พ้นจากส่วนนี้เหมือนเจดีย์เชียงยืนคือ เป็นฐานบัวรองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยม แต่ละด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนทั้งสี่ด้าน กรอบซุ้มประดับด้วยฝักเพกาสูงแหลมลดหลั่นกันแบบศิลปะพุกามที่มีชื่อเรียกว่า เคล็ก (CLEC) ที่มุมเหนือเรือนธาตุประดับเจดีย์องค์เล็กๆ เหนือเรือนธาตุตรงกลางเป็นแท่นแปดเหลี่ยมมีบัวปากระฆังรองรับองค์ระฆังกลมที่ประดับลายรัดอก เหนือองค์ระฆังเป็นบัวกลุ่มซ้อนกันขึ้นไปจนถึงปลียอด         เจดีย์หลวง(ราชกุฎี) วัดเจดีย์หลวงโชติการาม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๑๙๕๔ ในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมา แต่ยังไม่สำเร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระมเหสีของพระองค์โปรดให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชกาลของพระเจ้าสามฝั่งแกน เจดีย์องค์เดิมน่าจะมีห้ายอด ต่อมาราวพ.ศ. ๒๐๐๒ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หมื่นค้ำพร้าคตปฏิสังขรณ์แปลงแบบเดิมโดยขยายขนาดของเจดีย์ เอาศิลาแลงมาเสริมฐานและทำรูปช้าง ๒๘ ตัวโผล่จากผนังทั้งสี่ของฐานประทักษิณ และเปลี่ยนแปลงส่วนบน ซึ่งตำนานระบุว่าโปรดให้ “มีระเบียบกระพุ่มเดียว” และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์เจดีย์ เจดีย์องค์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ฐานประทักษิณสูง จึงมีบันไดทางขึ้นสี่ด้าน แต่คราวบูรณะในอดีตครั้งหนึ่งได้ปิดขั้นบันไดทางขึ้น ปัจจุบันบูรณะเหลือบันไดทางขึ้นเฉพาะด้านตะวันออก เหนือฐานประทักษิณเป็นเรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม กลางด้านทั้งสี่มีซุ้มจระนำ จระนำด้านตะวันออกเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าติโลกราชโปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองลำปาง(เขลางค์) เหนือเรือนธาตุควรเป็นทรงระฆังตั้งบนชุดของชั้นแปดเหลี่ยม มีบัลลังค์ ปล้องไฉนและปลี ต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ. ๒๐๕๕ โปรดให้ห่อหุ้มองค์เจดีย์หลวงด้วยทองคำ และในพ.ศ. ๒๐๘๘ สมัยพระนางจิรประภามหาเทวีได้เกิดแผ่นดินไหว ยอดเจดีย์หักพังลงมา ในสมัยพระไชยเชษฐาซึ่งเสด็จมาจากล้านช้าง เมื่อพระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทจากพระราชวังมานมัสการพระเจดีย์องค์นี้ด้วย เจดีย์เชียงมั่น วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า เมื่อพญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จในพ.ศ. ๑๘๓๙ พระองค์ได้เสด็จจาก

เจดีย์วัดป่าสักเจดีย์วัดป่าสัก2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น