วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช…พระเจ้าอุภัยภูธรบวรไชยเชษฐาธิปัตย์ศรีสัตนาคนหุต

สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีพระนามเดิมว่า "เจ้าเชษฐวังโส" พระบิดาทรงพระนามว่า "พระเจ้าโพธิสาร" หรือ "พระเจ้าโพธิสารราช"เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปกครองนคร ศรีสัตนาคนหุตเชียงทองในรัชกาลที่20 ประสูติปีมะเมีย(ปีม้า) เดือนอ้ายหรือเดือนเจียง หรือเดือนหนึ่ง แรม 9 ค่ำ วันอาทิตย์เวลาเที่ยง ปี พ.ศ.2077 สมัยเยาว์วัย เจ้าฟ้าเชษฐวังโส หรือเจ้าฟ้าไชยเชษฐากุมาร มีจิตใจใฝ่การศึกษาเล่าเรียน ฉลาดหลักแหลม และมีจิตเอื้ออารี

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 14 พรรษา พระเจัานครเชียงใหม่(เสด็จปู่) ก็เสด็จสวรรคตฝ่ายเสนาอำมาตย์และพระสงฆ์องค์เจ้าผู้ใหญ่ จึง ได้ปรึกษาหารือเห็นดีงามพร้อมกันว่า "เจ้าฟ้าไชยเชษฐาราชกุมาร พระราชโอรสของ พระนางหอสูง สมควรจะได้ปกครองราชสมบัติในนครเชียง ใหม่แทนพระอัยกา" แล้วพระเจ้าไชษฐากุมาร ก็ได้ปกครองราชสมบัติเป็น พระเจ้า แผ่นดินในนครเชียงใหม่ พ.ศ.2091 เพื่อเป็นสิริมงคลในการเสวย ราชสมบัติของพระเจ้า ไชยเชษฐา ธิราชนั้น เสนาอำมาตย์จึงได้ไปอัญเชิญพระมหามณีรัตน์ปฎิมากรแก้วมรกต ที่ ประดิษฐานอยู่ที่เมือง ลำปางไว้ที่เมืองเชียงใหม่

ปี พ.ศ.2093 พระเจ้าโพธิสารราชก็เสด็จสวรรคต(พระบิดา) เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็ได้แต่ง พระราชสาส์นฉบับหนึ่ง แจ้งข้อราชการในนคร ศรีสัตนาคนหุตเชียงทอง ไปถวายระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ที่นครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือพระยายศลือเกียนเป็นผู้นำขึ้นไป ถวาย ครั้นทราบจากราชสาส์นแล้ว พระองค์ก็ทรงกรรแสง (ร้องไห้) และทรงคิดถึงพระราชบิดา ด้วยยังไม่เห็นพระทัยเมื่อสรรคต

ดังนั้นพระองค์ ได้ทรงปรึกษาหารือกับเสนาอำมาตย์ว่า "เราจะไปเยี่ยมพระศพและทำการฌาปนกิจศพพระราชบิดาของเรา ที่นครศรีสัตนาคหุต และจะทรงเยี่ยมพระญาติ และบ้านเมืองของเราด้วย จะไปยาวนานเท่าไรยังไม่ทราบ และเพื่อเป็นสิริมงคล แก่บ้านเมือง เราจะนำเอา พระแก้วมรกต ไปด้วย"

พอแต่ท้าวเพีย(พระยาผู้ใหญ่) จัดยุทธโยธาจตุรงค์พร้อมเพียงแล้ว พระองค์ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระพุทธสิหิงส์ ซึ่งเป็นพระพุทธ รูปศักดิ์สิทธิ์ จัดขบวนแห่จนถึง พระนครศรีสัตนาคหุตเชียงทอง ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกจากเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้มอบเมืองให้แก่ พระยา กงกางราช ผู้เป็นลุงให้เป็นผู้รักษา ว่าราชการบ้านเมืองแทนชั่วคราว

พวกเสนาฝ่ายใต้ อันมีพระยาเวียง แสนมะโรง มารดาพระล้านช้างและกวานด้ามฟ้า เป็นหัวหน้าพอทราบข่าวว่า พระโพธิสาร เสด็จสวรรคตแล้ว ก็พร้อมกันคิดว่า จะอภิเษกพระล้านช้างขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงพากันแข็งข้ออยู่ที่เมืองปากห้วยหลวง

สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงทราบ จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ พระศรีสัทธรรมไตรโลก ยกไพร่พลโยธาลงมาปราบกองทัพทหาร ของพระเจ้าล้านช้าง กองทัพ ทั้งสองทำสงครามกันอยู่ที่แก้งสา พระเวียงกวานด้ามพ้า และพระยาแสนณรงค์ เห็นว่าจะต้านไม่ไหว จึงได้พาพระ ล้านช้างหนีลงไปพึ่งพระยานครที่เมืองกระบอง(เมืองท่าแขก) พระยานครจึงได้จับคนทั้งสามส่งให้พระยาศรีสัทธรรมไตรโลก ทั้งสามคนจึ่งถูก พระยาศรีสัทธรรมไตรโลก สั่งประหารชีวิต แล้วควบคุมเอาพระมารดาและพระล้านช้างขึ้นมา นครเชียงทอง พอขึ้นมาถึงแก้งปิง พระยาศรีสัทธรรม ไตรโลก ก็ได้ประหารชีวิตพระมารดาของพระล้านช้างเสีย คุมเอาเฉพาะพระล้านช้างและแม่เลี้ยง มีชื่อว่า "นางกองสร้อย" ขึ้นไปนครเชียงทอง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงพระราชทานอภัยโทษ แล้วให้ไปอยู่กับพระยาแสนเมือง

เมื่อจัดการบ้านเมืองได้สงบเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงทรงพระราชทานเพลิงศพพระราชบิดา และพระองค์ก็ได้ทรงผนวช จูงพระบรมศพ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วเหล่าเสนาอำมาตย์ราชมนตรีและพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหลาย จึงพร้อมกันอภิเษก พระไชยเชษฐาธิราชเจ้า ขึ้นเป็น พระเจ้าแผ่นดินปกครองนครเชียงทอง

ถวายพระนามว่า "พระอุภัยภูธรบวรไชยเชษฐาภูวนาถาธิปัตศรีสัตนาคนหุต" ด้วยที่พระองค์ได้เป็นพระเจ้า แผ่นดินปกครองทั้งสองนคร พระองค์จึงทรงแต่งตั้ง พระยาศรีสัทธรรมไตรโลก ผู้มีความชอบขึ้นเป็น "พระยาจันทบุรีศรีสัทธรรมไตรโลกน้าออก" เป็นพระเจ้าปกครองเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ.2093

บรรดาเมืองที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์ ดังนี้

1.เมืองเชียงคาน

2.เมืองแก่นท้าว

3.เมืองแก

4.เมืองพระน้ารุ่งเชียงสา

5.เมืองห้วยหลวง

6.เมืองเวียงคำ(คู่กับเมืองเวียงจันทน์)

พอพระยาจันทบุรีขึ้นปกครองนครเวียงจันทน์แล้วก็ได้สร้างวัดขึ้น 2 วัดคือ 1 วัดพระยา(วัดเพีย ในปัจจุบัน) 2.วัดจันทบุรีศรีสัทธรรมไตรโลก อยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง (วัดจันทบุรี ในปัจจุบัน)

ปี พ.ศ. 2094 สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้มีพระราชโองการแต่งให้เสนามนตรีไปบอกทางนครเชียงใหม่ว่า พระองค์จะ ไม่ได้เสด็จกลับ คืนมานครเชียงใหม่แล้ว ส่วนราชการบ้านเมืองขอมอบให้พระนางเจ้าจิระประภา เป็นผู้ดูแลแทนต่อไป

ฝ่ายเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ของเมืองเชียงใหม่ได้ทราบดังนี้ ก็เกิดทะเลาะกันแย่งความเป็นใหญ่จนเกิดศึกกลางเมือง พระองค์ทรง ทราบเรื่อง จึงมีพระราชโองการให้ พระยาเมืองแพร่ กับพระยานครล้านช้างและพระยาทัวเวียง ยกกำลังขึ้นไปปราบปรามจึงสงบลง

สามปีต่อมา ปี พ.ศ.2096 พวกเสนาอำมาตย์นครเชียงใหม่ ได้พร้อมกันไปเชิญเอา "เจ้าเนกุติ" ผู้เป็นเชื้อสายของพระยาเม็งราย ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ให้ลาสิกขาออกมาอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งนครเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงทราบ ก็พิโรธเป็นอย่างมาก ซึ่ง เมืองเชียงใหม่ยังเป็นของพระองค์อยู่

ปี พ.ศ.2098 พระองค์จึงทรงยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้นสมเด็จพระไชษฐาธิราช ได้แต่งตั้งให้พระยาเมืองกลาง เป็นแม่ทัพยก ไปตีเชียงแสน ตัวแสนน้อยหนีไปเมืองตองอู(เมืองหงสาวดี) พระองค์เสด็จขึ้นไปประทับที่เมืองเชียงแสน และตั้งนครเชียงแสนเป็นราชธานีทรง ปกป้องรักษาไพร่พล ช้างม้าอยู่ที่นั่น นานถึง 8 เดือน เพื่อจะตีเอานครเชียงใหม่คืนมาให้ได้

ฝ่ายแสนน้อย ที่หนีไปนั้นได้ไปเชิญเจ้าฟ้าหงสาวดีบุเรงนอง ให้มาตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้าหงสาวดี จึงมีราชสาส์นโดยให้น้อยเจียถือไป ถวายสมเด็จพระไชษฐาธิราชอยู่เมืองเชียงแสนมีข้อความว่า "เมืองเชียงใหม่เป็นของลูกเรา เราก็รู้เป็นอย่างดี แต่พ่อเจัาหมื่นกวาน กับนายประ เทียบวิชุลได้มาบอกเล่า ถึงอังวะโน้น พระเมกุติ ทั้งแสนน้อยเขาได้ชิงเอาเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว บัดนี้เราผู้พ่อก็ได้รับพระเมกุติ และแสนน้อยไว้ แล้ว บัดนี้เมืองเชียงใหม่นี้ ลูกเราจะมาเอา เราผู้พ่อจักมอบให้"

สมเด็จพระไชษฐาธิราช ได้ทรงทราบพระราชสาส์นนั้นแล้ว และทรงตอบกลับไปว่า "เมืองเชียงใหม่นี้หากเป็นเมืองของเราผู้ลูกแท้ พ่อเรา ตาย เรากลับไปบวช และสร้างมหาธาตุทั้งวิหาร ให้ทานเป็นการตอบแทน คุณพ่อเรา เราจึงฝากเมืองไว้กับพระสงฆ์และเสนาอำมาตย์ทั้ง หลาย เขาไม่อยู่ในคำสัตย์ที่ตั้งไว้ เลยเอาพระเมกุติมาตั้งแทน บัดนี้พ่อเราได้เมืองเขียงใหม่แล้ว เราขอถวายมอบให้แก่พ่อเรา เราจักกลับไปเมือง ล้านช้างดังเดิม"

ตั้งนครเวียงจันทน์เป็นราชธานี

ปี พ.ศ.2103 ปีวอก สมเด็จพระเจัาไชยเชษฐาธิราช ทรงพิจารณาเห็นว่า "นครเชียงทองเป็นที่คับแคบ ไม่กว้างขวาง และอย่างหนึ่ง ก็เป็นที่เดิน ทัพของพม่า ซึ่งกำลังเป็น ศัตรูอยู่กับนครเชียงทอง ทั้งพิจารณาเห็นว่า "เมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองใหญ่มีที่ทำมาหากินกว้างขวาง อุดมไปด้วยข้าว ปลาอาหาร สมควรแต่งตั้งให้เป็นมหานครได้"

เมื่อพระองค์จินตนาการดังนั้นแล้ว จึงปรึกษาหารือกับเสนามนตรีทั้งหลายในเมื่อทุกคนเห็นดีงามด้วยทุกประการ จึงมอบนคร เชียงทอง ให้พระสงฆ์เป็นผู้ดูแลรักษา พร้อมด้วย พระบางเจ้า ส่วนพระองค์ได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกต และพระแซกคำพร้อม ด้วยสมบัติทั้งมวล อพยพจตุรงคเสนาโยธาทหารลงมาอยู่นครเวียงจันทน์ จึงขนานนามนครเวียงจันทน์ใหม่ว่า "พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุดมราชธานี"

ส่วนนครเชียงทองนั้นก็ได้เรียกว่า "นครหลวงพระบาง" แต่กาลบัดนั้น เหตุว่า พระบางเจ้ายังประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั่น หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ สร้างมหาปราสาท ราชวังหลวงขึ้นใหม่ สร้างหอพระแก้วมรกตและพระแซกคำอย่างวิจิตรพิศดารยิ่งนัก

สร้างพระธาตุหลวงและวัดวาอาราม

ปี พ.ศ.2109 สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ทรงสร้างพระธาตุหลวงขึ้นอยู่ในสวนอุทยานทานด้านตะวันออกแห่ง พระมหานคร โดยก่อครอบ พระเจดีย์ลูกหนึ่งที่มีอยู่ ในที่นั้นก่อนแล้ว ได้ฤกษ์ในการลงมือทำในวันเพ็ญเดือนอ้าย(เดือนที่ 1) ใช้เวลาก่อสร้างนานพอ สมควร เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามว่า "พระธาตุเจดีย์โลกจุลมณี"คนส่วนมากเรียกว่า "พระธาตุใหญ่" หรือ "พระธาตุหลวง"

เพื่อปฎิบัติรักษาพระธาตุโลกจุลมณีให้มีรูปทรงสวยงามอยู่ตลอดเวลา พระองค์มีพระราชโองการให้ 35 ครอบครัวอยู่ เฝ้ารักษา พระธาตุ ซึ่งพระองค์ได้อุทิศที่ดินไร่นาให้ทุกครอบครัวเพื่อเป็นที่ทำมาหากิน เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างวัดวาอารามอีกหลาย แห่งคือ

1.วัดป่าฤาษีสังหรณ์(ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด)

2.สร้างอุโมงค์รอบธาตุพระอรหันต์ที่ป่ามหาพุทธวงศ์ (วัดธาตุฝุ่น ในปัจจุบัน)

3.วัดป่ากันทอง ที่หนองยางคำ

4.พระเจดีย์โล้นธาตุหัวเหน่าอยู่ภูเขาหลวง (พระธาตุบังพวน หนองคาย)

5.วัดโพนทองกก

6.ก่อพระเจดีย์ครอบพระธาตุศรีโคตบูรณ์ที่เมืองท่าแขก

7.ปฎิสังขรณ์ซ่อมแซมพระธาตุพนมใหม่

พระองค์ได้ทรงสร้างวัดวาอารามทั้งอยู่ในนครเวียงจันทน์ ทั้งอยู่ในภาคกลางของลาว และแผ่นดินฝั่งด้านขวาแม่น้ำโขง ซึ่งเสด็จไปทุกที่ไม่เคยหยุดหย่อน อันทำให้ประชาราษฏร์เกิดความเลื่อมใสยิ่งนัก

สมเด็จพระเจัาไชยเชษฐาธิราชเป็นกษัตริย์นักพัฒนา สร้างสรรให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ในนครเวียงจันทน์เต็มไปด้วย วัดวาอารามและพระธาตุเจดีย์ที่ประดับประดาอย่างวิจิตรพิดาร

นอกจากทรงสร้างเมืองแล้ว และวัดวาอารามแล้ว พระองค์ยังได้หล่อพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น พระองค์ตื้อ พระสุก พระใส พระเสริม เป็นต้น

+++++++++++++++

เขียนโดย ดวงไชย หลวงพะสี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น